http://thaicursor.blogspot.com  getcode

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครื่องมือ Quick Selection Tool


Quick Selection Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้เลือกขอบเขตวัตถุที่พัฒนามาจาก Magic Wand Tool แต่จะพิเศษกว่าตรงที่สามารถเลือกขอบเขตได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถปรับแต่งเส้นขอบในภายหลังได้ด้วย โดยวิธีการใช้งาน Quick Selection Tool ทำได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้


1. เปิดภาพชื่อ Chapter11-001.JPG


2. สร้างสำเนาเลเยอร์ Background โดยการกดปุ่ม Ctrl+J


3. คลิกเครื่องมือ Quick Selection Tool เพื่อเริ่มต้นการทำงาน


4. กำหนดขนาดหัวแปรงโดยให้ Brush = 35 px


5. คลิกแล้วแดรกเมาส์ เพื่อสร้าง Selection คลุมส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการ


หมายเหตุ ในกรณีที่ Selection เกินขอบเขตที่ต้องการ สามารถแก้ไขได้โดยการ กด Alt+คลิกบน Selection ส่วนที่ไม่ต้องการออกได้



เครื่องมือ Magic Wand


เป็นเครื่องมือเลือกพื้นที่โดยการคลิกเลือกลงไปในภาพ แล้วโปรแกรมจะทำการเลือกพื้นที่ ที่มีสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทั้งหมด ซึ่งเราสามารถใช้งานได้โดย คลิกเลือกเครื่องมือ Magic wand แล้วคลิกลงบนพื้นที่สีที่ต้องการเลือก พื้นที่ที่มีสีเดียวกันและอยู่ติดๆ กัน จะเลือกทั้งหมด


รูปแบบของการ Selection ( เหมือนกับ Maquee และ Lasso )


2. กำหนดค่าความใกล้เคียงของสีในการตัดสินใจเลือกพื้นที่ Selection


3. กำหนดการทำ Anti-Alias ให้กับของของ Selection


4. ตัวเลือกสำหรับระบุว่าให้เลือกเฉพาะ Pixel ที่มีสีใกล้เคียงกัน ( ขึ้นอยู่กับค่า Tolerance ) และมีตำแหน่งติด ๆ กันเท่านั้น หากไม่คลิกเลือกโปรแกรมจะเลือกทุก Pixel ที่มีสีใกล้เคียงกับสีที่คลิกเลือก


5. ตัวเลือกสำหรับกำหนดให้การเลือกจะใช้การตัดสินใจจากสีในทุก ๆ Layer หากไม่เลือกโปรแกรมจะตัดสินใจเลือกจากสีเฉพาะใน Layer ที่กำลังทำงานเท่านั้น

หมายเหตุ เครื่องมือ Magic Wand tool มีคีย์ลัดคือ กด W จากบนแป้นคีย์บอร์ด

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การติดตั้ง Microsoft Office 2010

1. ใส่แผ่น CD/DVD เพื่อทำการติดตั้ง จากนั้นให้คลิก Continue

2. รอจนโปแกรมเตรียมการเซ็ตอัพระบบแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้า Read the Microsoft Software License Terms ให้เลือก I accept the terms in this agreement เสร็จแล้วคลิก Continue

3. ในหน้า Choose the installation you want ให้คลิก Install Now

4. ในหน้า Installation Progress รอจนการติดตั้งโปรแกรมแล้วเสร็จ

5. ในหน้าถัดไปคลิก Close เพื่อจบการติดตั้ง

ขั้นตอนการลง Windows7

1. ใส่แผ่นแล้วกด Restart

2. จะมีหน้าต่างให้เลือก เลือกอันแรกแล้วกด Enter

3. จากนั้นจะมีหน้าต่างให้เลือกภาษา Language to install เลือก Enter

4. จะมีหน้าต่างขึ้นมาแล้วคลิ๊ก Install now แล้วหน้าต่างจะเด้งขึ้นมาให้เรากดคำว่า I accept the license terms
แปลว่า ยอมรับแล้ว ถ้าไม่กดยอมรับคำว่า Next จะเป็นสีเทาแล้วเราจะไปหน้าต่างต่อไปไม่ได้

5. จะมีหน้าต่างให้เลือกชนิดที่คุณต้องการ 2 อย่าง ให้คลิ๊กข้อ2คำว่า Custom ( advanced) จากนั้นหน้าต่างจะขึ้นมาให้กด Disk 0 Partition 1 เพื่อลบข้อใน Diver C ออก แล้วกด Format จะมีหน้าต่างขึ้นมาว่าให้กด OK แล้วคลิ๊ก Next แล้วรอ

6. พอมีหน้าต่างขึ้นมาให้กด Enter แล้วรอ จะมีหน้าต่างขึ้นมา คำว่า Type a user name คือหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใส่หมายเลขเครื่อง คลิ๊ก Next

7. จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาไม่ต้องทำอะไรให้เรากด Next หน้าต่างใหม่จะขึ้นมาจะมี3อย่างให้เลือกให้เราคลิ๊กตัวบนสุด

8. จะมีหน้าต่างให้เราตั้งวัน เวลา วันที่

9. จากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้เราเลือกสถานนี Wireless แล้วใส่รหัส จากนั้นกด Next

10. จากนั้นหน้าจอจะขึ้นตามปกติ เสร็จ

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบกราฟิก

งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้ายบรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ โฆษณา ภาพยนต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย สัญญลักษณ์ รูปแบบ ขนาดตัวอักษร มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย

ความหมายของการออกแบบกราฟิก
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ งานกราฟิกมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาจะโน้มน้าวจิตใจได้ดีกว่าการรับรู้ประเภทอื่น
งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบกราฟิกด้วย เพื่อที่จะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานกราฟิกมีความโดดเด่นน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบ โดยพิจารณาดังนี้

1.รูปแบบตัวอักษรและขนาด
การสร้างรูปแบบตัวอักษรให้มีรูปแบบแปลกตา สวยงามจะช่วยเร่งเร้าความรู้สึกตอบสนองได้เป็นอย่างดี โดยเน้นความชัดเจนสวยงาม สอดคล้องกับจุดประสงค์ สำหรับข้อความนำเรื่องและข้อความรายละเอียด นอกจากนั้นขนาดของตัวอักษรก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ขนาดของตัวอักษรทุกตัวบนชิ้นงานต้องมีความพอดี อ่านได้ง่าย สื่อความหมายได้ดีไม่ต้องคิดมาก นอกจากนั้นแล้วการจัดวางรูปแบบข้อความที่ดีก็จะช่วยให้การสื่อความหมายเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
2.การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง
การจัดพื้นที่ว่างในการออกแบบกราฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระเบียบของข้อมูล ช่วยเน้นความเป็นระเบียบและความชัดเจน ระยะห่างหรือพื้นที่ว่างจะช่วยพักสายตาในการอ่าน ทำให้ดูสบายตา สร้างจังหวะลีลาขององค์ประกอบภาพให้เหมาะสมและสวยงาม
3.การกำหนดสี
สีมีบทบาทอย่างมากที่ช่วยเน้นความชัดเจน ทำให้สะดุดตา สร้างสรรค์ความสวยงาม การกำหนดสีใดๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานนั้นๆ ข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ สีบนตัวภาพ พื้นภาพและตัวอักษร ต้องมีความโดดเด่น ชัดเจน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีความชอบที่แตกต่างกัน นักออกแบบจะพยายามใช้สีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด
4.การจัดวางตำแหน่ง
เป็นการจัดวางโครงร่างทั้งหมดที่จะกำหนดตำแหน่งขนาดของภาพประกอบ ตำแหน่งของข้อความทั้งหมด และส่วนประกอบอื่นๆที่ปรากฎ ซึ่งต้องคำนึงถึงจุดเด่นที่ควรเน้น ความสมดุลต่างๆ ความสบายตาในการมอง นักออกแบบต้องให้ความสำคัญต่อทุกๆส่วนที่ปรากฎบนชิ้นงานเท่ากันทั้งหมด ความพอเหมาะพอดีช่วยให้งานออกแบบมีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจ


Credit: http://www.manfioz.com/principle-of-graphic-design-thai/


วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ความหมายของ Database , Database System , DataBase Management System

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต


ระบบฐานข้อมูล (Database System) ความหมายของระบบฐานข้อมูลก็คือ ที่รวมของฐานข้อมูลต่าง ๆ หรือที่รวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจจะได้จากการคำนวณ หรือประมวลผลต่าง ๆ หรืออาจจจะได้จากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตมหาวิทยาลัย ทักษิณ ก็จะรวมเอาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลวิชาเรียน ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลอาจารย์ ผู้สอน และ ฐานข้อมูลหลักสูตร เป็นต้น ซึ่งรวมกันเป็นระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนนิสิต หรือฐานข้อมูลห้างร้านต่าง ๆ ก็จะประกอบด้วย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลระบบบัญชีฐานข้อมูลลูกหนี้ และฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น



ระบบจัดการฐานข้อมูล(DataBase Management System) หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้นหน้าที่ของระบบจัดการฐาข้อมูล มีดังนี้

1. กำหนดมาตรฐานข้อมูล

2. ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ

3. ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ

4. จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล

5. จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)

6. รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย

7. บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ

8. เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับต่าง ๆ