http://thaicursor.blogspot.com  getcode

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Creative Thinking (การคิดเชิงสร้างสรรค์)

ความคิดสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์คือ การทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งนั้นไม่เคยทีอยู่มาก่อน ทั้งผลผลิตอันหนึ่ง หรือกระบวนการอันหนึ่งหรือ
ความคิด-ไอเดียอันหนึ่ง

การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่มามาก่อนให้มีขึ้นมา การประดิษฐ์สิ่งซึ่งมีอยู่ใน ณ ที่ไหนที่ใดสักแห่งหนึ่งแต่เราไม่รู้ว่ามีมันอยู่แล้ว การคิดค้นกระบวนการใหม่อันหนึ่งขึ้นมาเพื่อกระทำบางสิ่งบางอย่าง การประยุกต์กระบวนการที่มีอยู่ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วเข้าสู่ความต้องการอีกครั้ง การพัฒนาวิธีการใหม่อันหนึ่งเกี่ยวกับการมองไปยังบางสิ่งบางอย่าง การนำมาซึ่งไอเดียหรือความคิดใหม่ ทำให้มันดำรงอยู่ หรือมีอยู่ขึ้นมาเปลี่ยนแปลงวิธีการมองของใครคนใดคนหนึ่งที่มองบางสิ่งบางอย่างไป
การสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่ถึงขนาดการพัฒนาบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาให้กับโลก แต่มันอาจจะเกี่ยวข้องกับพัฒนาการบางสิ่งบางอย่างให้ใหม่ขึ้นมาเล็กๆน้อยๆเพื่อตัวของเราเอง เมื่อเราเปลี่ยนแปลงตัวของเราเอง โลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกันกับเรา ทั้งการที่โลกได้รับผลกระทบโดยการกระทำที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของเรา และในวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เราได้มีประสบการณ์กับโลก

ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลาย ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการอันหนึ่ง ซึ่งเราใช้เมื่อเรามีไอเดียใหม่ๆ มันเป็นการผสมผสานเของไอเดีย หรือความคิดต่างๆซึ่งไม่เคยผสมรวมตัวกันมาก่อน คือการระดมสมอง(brainstorming) เป็นรูปแบบหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ มันทำงานโดยการรวบรวมไอเดียต่างๆที่กระทำออกมาโดยใครบางคน ผสมรวมกันกับของเราเพื่อสรรค์สร้างไอเดียใหม่อันหนึ่ง
ความคิดสร้างสรรค์มักจะเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ ความบังเอิญหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำให้เราคิดถึงบางสิ่งบางอย่างในหนทางที่แตกต่าง และเราได้ค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ ความเปลี่ยนแปลงบางอย่างมันเกิดขึ้นมาอย่างช้าๆโดยผ่านการใช้ความคิดสติปัญญาอันบริสุทธิ์และความก้าวหน้าเชิงตรรก การอาศัยความก้าวหน้าโดยความบังเอิญหรือในเชิงตรรก หลายครั้ง ต้องใช้เวลานานมากสำหรับการผลิตเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุง

ความคิดสร้างสรรค์จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการผลิตสินค้า การสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ กระบวนการที่คิดขึ้นมา และการบริการที่ดีขึ้น คาดหวังกันว่า การสร้างสรรค์นั้นจะช่วยเราในหลายๆด้าน เช่น องค์กรของเราดีขึ้น ลูกค้า หรือคนที่รับบริการจากเรามีความสุขมากขึ้น โดยผ่านการปรับปรุงขึ้นมาใหม่นี้ในด้านคุณภาพและปริมาณที่ผลิตออกมา



การใช้เทคนิควิธีพิเศษ ความคิดสร้างสรรค์อันละเอียดอ่อนประณีตสามารถถูกนำมาใช้ได้เพื่อพัฒนาไอเดียใหม่ๆ เทคนิคดังกล่าวจะช่วยทำให้ หรือไปบังคับให้เกิดลำดับการณ์อันกว้างขวางของการผสมผสานไอเดีย เพื่อจุดประกายความคิดใหม่ๆและกระบวนการใหม่ๆ การระดมสมองเป็นหนึ่งในเทคนิคพิเศษเหล่านี้ แต่ตามขนบประเพณี แล้ว มันจะเริ่มต้นด้วยไอเดียที่ไม่ธรรมดา(start with un-original ideas)

เทคนิคความคิดสร้างสรรค์
ไอเดียใหม่ๆเกิดขึ้นมา เมื่อมีไอเดียตั้งแต่สองไอเดียขึ้นไปบังเอิญหรือตั้งใจให้มันมาผสมกัน อย่างที่มันไม่เคยรวมตัวกันมาก่อน เทคนิคการใช้ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการจัดหาวิธีการเพื่อรวมไอเดียทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างประณีต ซึ่งตามปกติ เราไม่เคยคิดข้ามไอเดียพวกนั้นมาก่อนหรือคิดถึงมันว่าจะเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากประการแรกที่เกิดขึ้นมาก็คือ จะหาทางให้ไอเดียนั้นๆผสมกันได้อย่างไร และข้อยุ่งยากประการที่สองคือจะพัฒนาไอเดียใหม่นั้นให้มันใช้การได้ได้อย่างไร

เทคนิคการได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์

Random Word (การสุ่มคำ)

Random Picture (การสุ่มด้วยภาพ)

False Rules (กฎเกณฑ์ที่ผิดพลาด)

Random Website (การสุ่มเวบไซท์)

Scamper (กระโดดโลดเต้น หรือการเล่น)

Search & Reapply (ค้นหาและลองประยุกต์ใหม่)

Challenge Facts (ท้าทายข้อเท็จจริง)

Escape (หลบหนี หลบเลี่ยง)

Analogy (การอุปมาอุปมัย)

Wishful Thinking (ความคิดให้สมปรารถนา)

Thesaurus (ใช้พจนานุกรมศัพท์คำพ้อง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น